ประวัติ ของ อัลเฟรด เวล

บิดามารดาของเวล ได้แก่ สตีเฟน เวล (1780-1864) และเบ็ธทีอะห์ ยังส์ (1778-1847) เวลเกิดในมอร์ริสทาวน์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ บิดาของเขาเป็นผู้ประกอบการและนักอุตสาหกรรม ผู้ก่อตั้งสปีดเวลล์ ไอร์ออนเวิร์กส์ ให้เป็นหนึ่งในโรงงานผลิตเหล็กที่มีความก้าวหน้าที่สุดแห่งยุค[3] พี่น้องของอัลเฟรด ได้แก่ จอร์จ เวล ผู้ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น

อัลเฟรดเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล ก่อนที่จะเข้าทำงานเป็นช่างเครื่องในโรงงานผลิตเหล็ก เขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กในด้านเทววิทยา ใน ค.ศ. 1832 ที่ซึ่งเขาเป็นนักเรียนที่กระตือรือร้นและประสบความสำเร็จ โดยสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1836[1] การเดินทางเยี่ยมโรงเรียนเก่าเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1837 ทำให้เขาได้เป็นพยานเห็นหนึ่งในการทดลองโทรเลขครั้งแรก ๆ ของซามูเอล มอร์ส เขาได้มีความสนใจในเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นอย่างมาก และเจรจาข้อตกลงกับมอร์สเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวที่สปีดเวลล์ โดยที่เขาจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง แต่จะได้รับผลตอบแทนเป็น 25% ของรายได้ อัลเฟรดได้แตกหุ้นของเขากับน้องชาย จอร์จ เวล เมื่อมอร์สว่าจ้างฟรานซิส สมิธ สมาชิกรัฐสภาจากรัฐเมน เป็นผู้ช่วยงาน เขาได้ลดสัดส่วนถือหุ้นของเวลเหลือหนึ่งในแปด มอร์สผูกขาดสิทธิบัตรในทุกสิ่งที่เวลได้พัฒนาขึ้น

หลังจากได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบิดา เวลได้ปรับปรุงต้นแบบโทรเลขของมอร์ส เพื่อให้เหมาะสำหรับการนำเสนอต่อสาธารณะและการนำไปประกอบธุรกิจ การสื่อสารด้วยโทรเลขประสบความสำเร็จครั้งแรกที่สปีดเวลล์ไอร์ออนเวิร์กส์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1838 โดยส่งข้อความผ่านสายโทรเลขยาว 3 กิโลเมตร ข้อความดังกล่าวเขียนว่า "ผู้ที่อดทนรอไม่ใช่ผู้แพ้" ตลอดเวลาอีกหลายเดือนต่อมา มอร์สและเวลได้แสดงโทรเลขต่อสถาบันแฟรงกลินของฟิลาเดลเฟีย สมาชิกรัฐสภา และประธานาธิบดีมาร์ติน แวน บิวเรน ตลอดจนสมาชิกคณะรัฐมนตรี การแสดงดังกล่าวมีความสำคัญต่อการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐสภาจำนวน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในการสร้างสายโทรเลขสายแรกใน ค.ศ. 1844 จากวอชิงตันไปยังบัลติมอร์

มีข้อถกเถียงกันไม่น้อยว่า ระหว่างเวลหรือมอร์ส ผู้ใดเป็นผู้คิดค้น "รหัสมอร์ส" นักวิชาการจำนวนหนึ่งเห็นว่าแท้ที่จริงแล้ว เวลเป็นผู้คิดค้นรหัสดังกล่าว[4][5][6][7]

เวลได้เกษียณจากกิจการโทรเลขใน ค.ศ. 1848 และย้ายกลับไปอาศัยยังมอร์ริสทาวน์ เขาใช้ชีวิตสิบปีสุดท้ายในการวิจัยเกี่ยวกับวงศ์ตระกูลของตน เนื่องจากเวลได้รับผลประโยชน์เพียงหนึ่งในแปดจากสิทธิบัตรโทรเลขของมอร์สร่วมกับน้องชาย เวลจึงเห็นว่าตนได้รับรายได้จากผลงานของเขาน้อยกว่ามอร์สและคนอื่น ๆ

ผลงานและอุปกรณ์ของเขาได้รับการบริจาคให้แก่สถาบันสมิทโซเนียนและสมาคมประวัติศาสตร์นิวเจอร์ซีย์ โดยบุตรชายของเขา สตีเฟน

ใกล้เคียง

อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก อัลเฟรด โนเบล อัลเฟรด เวล อัลเฟรด เบลล็อก อัลเฟรด ซิสลีย์ อัลเฟรท แวร์เนอร์ อัลเฟรด เฮอร์ชีย์ อัลเฟรด เทนนีสัน บารอนเทนนีสันที่ 1 อัลเฟรด เอ็ม. โมเอน อัลเฟรด สวอห์น

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัลเฟรด เวล http://www.bookrags.com/biography/alfred-vail-woi/ http://query.nytimes.com/mem/archive-free/pdf?res=... http://query.nytimes.com/mem/archive-free/pdf?res=... http://www.telegraph-office.com/pages/vail.html http://cdl.library.cornell.edu/cgi-bin/moa/moa-cgi... http://www.du.edu/~jcalvert/tel/morse/morse.htm http://siarchives.si.edu/findingaids/FARU7055.htm#... http://www.archive.org/details/leadingamericani00i... http://www.jerseyhistory.org/findingaiddirnb.php?d... http://www.morsetelegraphclub.org/